โครงการควบคุมโรคมาลาเรีย ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ประจำปีงบประมาณ 2564
องค์การบริหารส่วนตำบลซับสมบูรณ์ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
๑. หลักการและเหตุผล
โรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออกเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน อย่างต่อเนื่องทุกปีจึงได้มีการเน้นให้มีการควบคุมโรคมาลาเรียเป็นนโยบายหลักของงานด้านสาธารณสุข สาเหตุจากยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรคเมื่อยุงก้นปล่องกัดและดูดเลือดคนที่มีเชื้อมาลาเรียเข้าไป เชื้อจะเพิ่มจำนวนในยุงโดยใช้เวลาประมาณ 10-12 วัน เมื่อยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียนี้ไปกัดคนอื่น ก็จะปล่อยเชื้อมาลาเรียจากต่อมน้ำลายเข้าสู่คนอีก จึงทำให้คนที่ถูกยุงกัดเป็นไข้มาลาเรีย ซึ่งอาจเริ่มมีอาการป่วยหลังจากถูกยุงก้นปล่องกัดประมาณ 10-14 วัน อาการที่สำคัญได้แก่ มีอาการไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องร่วง ในกรณีที่ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องช้าเกินไปอาจมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ โรคนี้ทำให้บั่นทอนแรงงานจากการขาดงาน และมีผลต่อการศึกษาจากการขาดเรียนทำให้เด็กมีการเรียนรู้ช้า ในพื้นที่หรือช่วงระยะเวลาที่มีการแพร่ระบาด
และมีการเจ็บป่วยจำนวนมากอาจทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล การประกอบอาชีพ
และภาระการดูแลผู้เจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว โรคไข้มาลาเรียสามารถป้องกันได้ และรักษาให้หายขาดได้ ขณะเดียวกันเมื่อเป็นแล้วก็อาจเป็นอีกได้ถ้าถูกยุงที่มีเชื้อมากัดอีกการป้องกันได้แก่ การนอนในมุ้งใส่เสื้อผ้ามิดชิดปกคลุมแขนขา ทาสารป้องกันยุง และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงก้นปล่องที่อยู่ใกล้ชุมชน ประกอบกับสภาพพื้นที่ของตำบลที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดของโรค นอกจากนี้พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย เช่น การนอนไม่กางมุ้ง เป็นต้นจึงทำให้โรคไข้มาลาเรียจะมีการระบาด
ตลอดปีและมีการระบาดในทุกกลุ่มอายุ
องค์การบริหารส่วนตำบลซับสมบูรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการควบคุมปัญหาดังกล่าว จึงมีการจัดทำโครงการ ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคมาลาเรียขึ้น และเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนำโดยแมลง
๒. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.เพื่อให้ประชาชน มีความรู้และมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย
2. เพื่อประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรค โดยชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.เพื่อลดการเพิ่มจำนวนการเกิดของยุงลาย
๓. เป้าหมายของโครงการ
ประชาชนหมู่ที่ 1 – 10 พื้นที่ตำบลซับสมบูรณ์ จำนวน 700 คน
๔. วิธีดำเนินการ
๑. จัดทำโครงการและนำเสนอโครงการ
๒. ประชุมจัดทำโครงการร่วมกันระหว่างคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา อบต. พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้าง องค์การบริหารส่วนตำบลซับสมบูรณ์
๓. กำหนดวัน เวลา ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. จัดสรรงบประมาณฯ ดำเนินโครงการฯ
๕. ประเมินโครงการ สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
-2-
๕. ระยะเวลาในการดำเนินการ
วันที่ 15-19 กันยายน 2564
๖. สถานที่ดำเนินการ
ลำดับ วัน/เดือน/ปี เวลา หมู่บ้าน/ชุมชน
1 15 กันยายน2564
09.00 - 16.00 น. หมู่ที่ 2 บ้านโพทะเล
หมู่ที่ 3 บ้านไร่อุดม
2 16 กันยายน 2564
09.00 - 16.00 น. หมู่ที่ 6 บ้านหนองจอก
หมู่ที่ 10 บ้านแสงมณี
3 17 กันยายน 2564
09.00 - 16.00 น. หมูที่ 4 บ้านเขาขาด
หมู่ที่ 5 บ้านกระทุ่มทอง
4 18 กันยายน 2564
09.00 - 16.00 น. หมู่ที่ 7 บ้านฟุบสะแก
หมู่ที่ 9 บ้านหนองอุดม
5 19 กันยายน 2564
09.00 - 16.00 น. หมู่ที่ 1 บ้านซับสมบูรณ์
หมู่ที 8 บ้านใหม่ซับเจริญ
๗. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลซับสมบูรณ์ อำเภอวิเชียรบุรี
จังหวัดเพชรบูรณ์
๘. งบประมาณ
ตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลซับสมบูรณ์ เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 โอนตั้งจ่ายรายการใหม่ ครั้งที่ 18 (วันที่ 22 กันยายน 2564) เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการควบคุมโรคมาลาเรีย ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี กองสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม งานบริหารทั่วไปเกี่ยวกับสาธารณะสุข งบดำเนินการ หมวดค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่าย ตั้งจ่ายจำนวน 70,000 บาท
๙. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้
1.ประชาชนมีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย
2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
3. ประชาชนมีการตื่นตัวและเฝ้าระวังในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อที่นำโดยแมลง
ข่าว ณ. วันที่ 15 มิ.ย. 2565 เวลา 13.34 น. โดย คุณ พีรพงษ์ มะลิทอง
ผู้เข้าชม 79 ท่าน |